...ยินดีต้อนรับทุกท่าน..สู่เวบไชต์สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย...

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน


การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ผ่านศูนย์เรียนรู้นายอินถา สมตา สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงป่าเป้า ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย จัดฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ผ่านศูนย์เรียนรู้ของนายอินถา สมตา ณ ศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน บ้านสัน ม.3 ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ภายใต้โครงการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานในเกษตรกรรายย่อย เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555 โดยมีเกษตรกรผู้ที่สนใจ เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ จำนวน 20 ราย  ใน การฝึกอบรมครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ของเกษตรกรเจ้าของศูนย์เรียนรู้ คือนายอินถา สมตา และเกษตรกรผู้ที่ทำการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่อ าเภอเวียงป่าเป้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายรู้จักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พึ่งพาตนเอง และพึ่งพาอาศัยกันและกัน นำมาซึ่งความเข้มแข็งและยั่งยืนใน
อาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานต่อไป
                   
   

การอบรมเกษตรกร โครงการหลวง


สำนักงำนปศุสัตว์อ อำเภอเวียงป่ำเป้ำ จัดอบรมเกษตรกรโครงกำรถ่ำยทอดองค์ควำมรู้โครงกำรหลวง
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงป่าเป้า และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย จัดอบรม เกษตรกรกิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวง ณ ศูนย์เรียนรู้ชมชนชาวไทยภูเขาบ้าน แม่ฉางข้าว ต าบลป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ อบรมให้ความรู้ด้านการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแก่เกษตรกร  ก่อนที่เกษตรกรจะได้รับการสนับสนุนพันธุ์ไก่พื้นเมือง จากส านักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย รายละ 6 ตัว เมื่อมีความรู้การเลี้ยงและการป้องกันโรคที่ถูกต้องแล้ว จะท าให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงไก่ของตนเองให้แพร่กระจายพันธุ์มากขึ้น สามารถใช้เป็น
อาหารโปรตีนบริโภคในครอบครัว และสามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกทางหนึ่งด้วย
 ในการฝึกอบรม เน้นให้ความรู้และฝึกปฏิบัติจริง โดยทีมวิทยากร น าโดย นายสุกิจ  มากมี ปศุสัตว์อ าเภอเวียงป่าเป้า และทีมวิทยากรจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย น.ส.อรอนงค์  พิมพ์คำไหล และนางพรพิมล  ใจไหว ที่ให้ความรู้ในเรื่อง ของการน าวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น เช่น ต้นกล้วย นำมาสับให้ละเอียดแล้วน ามาหมักร่วมกับร าละเอียด เกลือแกง น้ าตาลทราย  เมื่อนำไปเลี้ยงไก่จะท าให้ไก่เจริญเติบโตเร็วขึ้น นอกจากนี้ยัง นายวิเชียร บรรจงการ และ น.ส.หยาดรุ้ง โป่งชนะ ยังแนะน า
เทคนิคการเพาะหนอนแมลงวัน จากมูลสัตว์ เป็นอาหารโปรตีนมาเลี้ยงไก่พื้นเมือง ซึ่งเป็นวิธีการที่เกษตรกรสามารถท าได้ง่าย ด้วยตนเอง และมีต้นทุนต่ า รวมถึงการให้วัคซีนป้องกันโรคในไก่พื้นเมือง
 กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแก่เกษตรกรบ้านแม่ฉางข้าว ในครั้งต่อไปจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอาหาร สัตว์สวนครัว ในพื้นที่ว่างหลังบ้าน เพื่อที่ไก่สามารถมาจิกกินพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเหล่านี้ เป็นการสร้างอาหารโปรตีน คุณภาพ ราคาถูกแก่ไก่ได้